
ในช่วงรายปีที่ผ่านมาหลาย ๆ ประเทศที่นิยมรับประทานอาหารจำพวกฟาสต์ฟู้ด ของทอด เบเกอรี่และอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ กำลังรณรงค์และห้ามใช้ส่วนผสมที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบในอาหารเหล่านั้น เนื่องจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการลดไขมันทรานส์ในอาหารจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ ด้วยเหตุผลนี้ประเทศไทยจึงได้มีกฎ ข้อบังคับไม่ให้ผลิต นำเข้าและจำหน่ายอาหารที่มีไขมันทรานส์เด็ดขาด โดยมีผลบังคับใช้หลังจาก 180 วัน
ไขมันทรานส์หรือ Trans Fat เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีสิ่งที่เรียกว่า “Trans” เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ซึ่งส่วนใหญ่จะพบได้ในน้ำมันพืช ส่งผลให้ไขมันที่เป็นของเหลวเปลี่ยนไปเป็นของแข็งจากกระบวนการเติมไฮโดรเจน หรือที่เรียกกันว่า “ไฮโดรจีเนชัน (Hydrogenation)” นอกจากนี้ไขมันทรานส์ยังสามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด เช่นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม และในช่วงต้นทศวรรษ 1900 ไขมันทรานส์ได้เข้ามาสู่ระบบผลิตอาหารขนาดใหญ่ เมื่อกระบวนการทางเคมีของไฮโดรเจนถูกคิดค้นขึ้นจึงนำมาใช้ประกอบส่วนผสมต่าง ๆ ของอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และยังช่วยทำให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น
ไขมันทรานส์ทำให้กระบวนการใช้ส่วนผสมจากพืชในอาหารเปลี่ยนแปลงไป โดยน้ำพืชที่ถูกเติมไฮโดรเจนเข้าไปมักพบได้ในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดหรือการทำอาหารภายในบ้าน เนื่องจากน้ำมันเหล่านี้มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการปรุงอาหาร (แต่ไม่ได้มีประโยชน์ต่อร่างกาย) ทำให้สามารถแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ในอุตสาหกรรมอาหารได้ ทั้งสินค้าอบและทอดทำให้มีอายุในการเก็บรักษานานขึ้นบวกกับราคาที่ถูกทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ สามารถสร้างกำไรได้สูง
ทำไมไขมันจึงไม่ดีต่อสุขภาพ?
การวิจัยเกี่ยวกับน้ำพืชที่เติมไฮโดรเจนของนักโภชนาการจาก Orange County, California กล่าวว่าไขมันทรานส์สามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีหรือ LDL (Low Density Lipoprotein) เป็นไขมันไม่ดีที่จะเข้าไปลดคอเลสเตอรอลไขมันดีหรือ HDL (High-Density Lipoprotein) ที่มีหน้าที่ในการขจัดไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ในหลอดเลือดและเลือด การลดอาหารที่มีไขมันทรานส์จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของหัวใจและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ใดไม่มีไขมันทรานส์
แท็กที่เกี่ยวข้อง :
ไขมัน, ไขมันทรานส์, โปรตีน, โปรตีนจากไข่ขาว, อัลบูมิน, Albupro