โปรตีนอัลบูมิน สำคัญอย่างไร
Date : 25/01/2019
โปรตีนเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนี้ยังให้พลังงาน
โปรตีนเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนี้ยังให้พลังงานและทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย โปรตีนจัดว่าเป็นองค์ประกอบหลักภายในร่างกายของมนุษย์ โดยมีมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ และสามารถพบได้ในทุก ๆ เซลล์รวมถึงในกระแสเลือด
ส่วนประกอบหลักของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ พลาสมา (plasma) โดยพลาสมาเป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลว มีลักษณะค่อนข้างใสและมีสีเหลืองอ่อน นอกจากทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและการขนถ่ายของเสียจากเซลล์ต่าง ๆ เพื่อนำไปกำจัดแล้ว พลาสมายังมีบทบาท
ในการควบคุมความดันโลหิตและสมดุลต่าง ๆ ในร่างกายอีกด้วย สารโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบหลักของพลาสมา ได้แก่ ไฟบริโนเจน (fibrinogen) ที่เป็นปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด, โกลบูลิน (globulin) ทำหน้าที่ในการขนส่งไขมัน, อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค และอัลบูมิน (albumin) เป็นสารโปรตีนหลักในพลาสมา ซึ่งทำหน้าที่หลากหลายในร่างกาย
อัลบูมิน – โปรตีนที่มีมากที่สุดในพลาสม่า
อัลบูมินเป็นสารโปรตีนที่มีปริมาณมากที่สุดในพลาสมา โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50–60 จากโปรตีนที่มี
อยู่ทั้งหมดในพลาสมา อัลบูมินจะถูกสร้างขึ้นได้ที่อวัยวะตับเท่านั้น และหลังจากที่สร้างเสร็จแล้วจะถูกหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดทันที ในทางกลับกันการสลายอัลบูมินนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ อวัยวะ เช่น กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ตับ ไต และในทางเดินอาหาร เป็นที่น่าสนใจว่า อัลบูมินนั้นจะถูกสร้างขึ้นได้เมื่อเซลล์ตับอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญก็คือ การที่ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างพอเพียง
หน้าที่ของอัลบูมิน
อัลบูมินเป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการกระจายของเหลวภายในร่างกาย และควบคุมความสามารถ
ในการเก็บกักน้ำไว้ภายในหลอดเลือด ซึ่งถ้าหากความสามารถนี้บกพร่องไปก็อาจนำไปสู่ภาวะบวมน้ำได้ และหน้าที่ที่สำคัญอีกอย่างของอัลบูมินก็คือ การขนส่งสารต่าง ๆ ไปตามกระแสเลือด โดยอัลบูมินสามารถจับกับสารได้หลายชนิด เช่น ฮอร์โมน กรดไขมัน แร่ธาตุต่าง ๆ รวมไปถึงสารจากภายนอกร่างกายอย่างเช่นยารักษาโรค เป็นต้น นอกจากนี้อัลบูมินยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด การปรับสมดุลกรด-ด่างในกระแสเลือด และมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้ระดับอัลบูมินในร่างกายลดต่ำลง
สาเหตุที่ทำให้ระดับอัลบูมินในร่างกายลดต่ำลง ภาวะระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ สามารถพบได้บ่อยใน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องมีคนดูแล เด็กที่ขาดสารอาหาร และผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง และยังพบภาวะอัลบูมินต่ำในผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะท้องมาน และผู้ป่วยที่มีการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ภาวะเหล่านี้สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุผ่านกลไกที่แตกต่างกัน นอกจากนี้การขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน และภาวะโรคตับ ไม่ว่าจะเป็นตับแข็งหรือตับวาย สามารถส่งผลให้การสร้างอัลบูมินลดลง ในขณะเดียวกันโรคบางประเภทจะทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีนที่มากเกินไปจนทำให้ระดับอัลบูมินลดต่ำลง เช่น โรคไต โรคในทางเดินอาหารบางชนิด และภาวะผิวหนังไหม้ระดับรุนแรง เป็นต้น
ผลกระทบเมื่อร่างกายมีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ
การรับประทานอาหารที่มีอัลบูมินสูง เช่น ไข่ เนื้อวัว นม และปลา อาจช่วยเพิ่มระดับอัลบูมินในร่างกายได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีอัลบูมินเป็นส่วนประกอบหลักวางขายอยู่ในท้องตลาด เคยมีการรายงานว่าการรับประทานเสริมโปรตีน อัลบูมินจากไข่ในผู้ป่วยที่ต้องล้างไตผ่านทางช่องท้อง สามารถช่วยเพิ่มระดับอัลบูมินในเลือด และช่วยฟื้นฟูสภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาระดับอัลบูมินในเลือดต่ำก็คือ การรักษาภาวะหรือโรคที่เป็นสาเหตุหลัก แต่การรักษาอาการต้นเหตุนั้นไม่สามารถทำได้ในทุกกรณี ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีอัลบูมินอย่างเหมาะสมอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยเสริมโปรตีนอัลบูมิน โดยผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนการเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์
หากคุณกำลังมองหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีน ให้อัลบูโปร (Albupro) ของเราช่วยดูแลสุขภาพของคุณและให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ต้องการในแต่ละวันอย่างครบถ้วน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอัลบูโปร ติดตามโปรโมชันและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Albupro
ที่มา: HealthToday October 10, 2018 (https://www.healthtodaythailand.net/โปรตีนสารอาหารจำเป็น/)