ความสำคัญของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อพลังแห่งการเคลื่อนไหว หากปราศจกการหดตัวของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นไม่ได้ หรือไม่สมบูรณ์แบบ เพราะหน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อคือความสามารถในการเคลื่อนไหว โดยเกือบครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวของบุคคลนั้นเป็นกล้ามเนื้อประมาณ 40% หน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อคือ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนพลังงานจากอาหารมาใช้ในการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ กล้ามเนื้อมีหน้าที่ พยุงร่างกาย ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และช่วยปกป้องกระดูกเส้นเอ็น
กล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัย
ปัญหาภาวะกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัย หรือเรียกว่า ภาวะ Sarcopenia สำหรับในประเทศไทยภาวะดังกล่าว เกิด 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุเลยทีเดียว นั่นหมายความว่าผู้สูงอายุ 3 คน มี 1 คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อน้อย จากข้อมูล เมื่ออายุ 40 ปี มวลกล้ามเนื้อลดลง 1-2% ต่อปี และลดลง 3% ต่อปี เมื่ออายุ 60 ปี ขึ้นไป และลดลงเพิ่มเป็น 2-5 เท่าของมวลกล้ามเนื้อเมื่ออายุ 75 ปี ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมีความสัมพันธ์กับอายุ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาโดยกลไกที่เกี่ยวข้องกับมวลกล้ามเนื้อน้อย ได้แก่ การสร้างโปรตีนและการสลายโปรตีน การทำงานระบบประสาท ปริมาณไขมันในกล้ามเนื้อ ปริมาณฮอร์โมนที่ลดลงตามอายุ รวมไปถึงการอักเสบ ส่งผลทำให้เกิดข้อจำกัดทางกายภาพนำไปสู่ภาวะเปราะบาง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพภาพและเสียชีวิตได้
มีรายงานสนับสนุนผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย ถ้ามวลกล้ามเนื้อลดลง 10% ภูมิคุ้มกันลดลง พอภูมิคุ้มกันลดลงเป็นเหตุทำให้เชื้อง่าย ถ้ามวลกล้ามเนื้อลดลง 20% ถ้าเป็นแผล แผลจะหายช้า ถ้ามวลกล้ามเนื้อลดลง 30% กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลุกนั่งลำบาก เคลื่อนไหวลำบากเพราะไม่มีแรง และถ้ามวลกล้ามเนื้อลดลง 40% มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง
จะเห็นว่ากล้ามเนื้อลดลงไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเรา พออายุเริ่มเข้า 40 ปี มวลกล้ามเนื้อเริ่มลดลงแล้ว โดยเทคนิคที่รักษามวลกล้ามเนื้อสำหรับคนที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป ได้แก่
- ตรวจเช็คสุขภาพ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และปริมาณมวลกล้ามเนื้อกับคุณหมอเป็นประจำ
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่นการใช้ยางยึดในการออกกำลังกาย การเดิน การปั่นจักรยาน เป็นต้น
- การได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ เช่น เนื้อปลา ไข่ ถั่วเหลือง เต้าหู้ เพื่อป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และควรเพิ่มเส้นใยของกล้ามเนื้อ และควรเลือกโปรตีนที่เคี้ยวง่าย
โปรตีนเป็นสารอาการที่จำเป็นต่อร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ เพราะร่างกายจะสลายโปรตีนและขับออกทุกวันตามธรรมชาติ ดังนั้นการปรับประทานโปรตีนให้เพียงพอต่อร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
พบกับบูธขอไบโอบอร์นได้ที่ The Farm 2022 ตั้งแต่วันที่ 4-17 มีนาคม 2565 ณ เซ็นทรัลพระราม 9
เอกสารอ้างอิง
- วันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต และ ชาญชัย ยมดิษฐ์, 2555. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง วิทยาศาสตร์กีฬากับการฝึกมวยไทย. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก: http://muaythai.mcru.ac.th/data/data%20pdf/muaythai-n.pdf].
- Josep M. Arggiles et al., 2016. Skeletal Muscle Regulates Metabolism via Interorgan Crosstalk: Roles in Health and Disease. JAMDA. VOLUME 17, ISSUE 9, P789-796.
- Kyle W. Michell. Et al., 2012. Sarcopenia, dynapenia, and the impact of advancing age on human skeletal muscle size and strength; a quantitative review. Frontiers in Psychology. July 2012 | Volume 3 | Article 260.
- สมจินต์ โฉมวัฒนะชัย และคณะ. 2562. ประสิทธิภาพผลการออกกำลังกายแบบแรงต้านในผู้สูงอายุภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารกรมการแพทย์. ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2562.
- สิชล ทองมา และคณะ., 2564. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย. วารสารพยาบาลทหารบก. Vol. 22 No.1 January - April 2021.
- Stephan von Haehling, John E. Morley and Stefan D. Anker. 2010. An overview of sarcopenia: facts and numbers on prevalence and clinical impac. J Cachexia Sarcopenia Muscle (2010) 1:129–133.
- Colloca G et al., 2019. Muscoloskeletal aging, sarcopenia and cancer. Journal of Geriatric Oncology. VOLUME 10, ISSUE 3, P504-509, MAY 01, 2019.