ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความใส่ใจในการดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น เนื่องด้วยตัวเลขประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสัดส่วนของประชากรที่เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ และโรคมะเร็ง โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคเหล่านี้เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง รับปรทาน หวาน มัน เค็ม มากเกินไป รับประทานผักผลไม้น้อยลง การเคลื่อนไวร่างกายน้องลง และที่สำคัญคือภาวะเครียดจากการทำงานหรือสภาพแวดล้อม
สารให้ความหวานที่ใช้กันมานาน คือน้ำตาลซูโครส ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ แต่การบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ มีหลายงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นน้ำตาลมีผลต่อความผิดปกติของการเผาผลาญที่เพิ่มมากขึ้น โดย WHO ได้ให้แนวทางสำหรับผู้ใหญ่และเด็กในการลดการบริโภคน้ำตาลในชีวิตประจำวันให้น้อยกว่า 10% ของพลังงานรวมที่ร่างกายต้องการต่อวัน จึงทำให้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือสารทดแทนความหวานเริ่มมีการใช้มากขึ้นในอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ มากขึ้น
สารทดแทนน้ำตาลคืออะไร
สารทดแทนน้ำตาลเป็นหนึ่งในวัตถุเจือปน (Additive) ที่ใช้ทดแทนน้ำตาลเพื่อทดแทนความหวาน นิยมเรียกกันว่าน้ำตาลเทียม โดยสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นสารที่ให้ความหวานที่สูงกว่าน้ำตาลซูโคลส แต่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานน้อย ซึ่งมีการใช้โดยทั่วไปในอหารเครื่องดื่ม เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดพลังงาน แต่ยังคงรสชาติของความหวาน
ประเภทสารทดแทนน้ำตาล
- แบบลดพลังงาน โดยมีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลซูโครส เช่น ซอร์บิทอล ไซลิทอล มอลทิทอล โดยให้พลังงาน 2.6 แคลอรี/กรัม เป็นต้น
- แบบให้พลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงาน และมีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส โดยสารทดทดแทนน้ำตาลประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 มาจากธรรมชาติ เช่น สารสตีเวีย จากหญ้าหวานให้ความหวาน 200-300 ของน้ำตาล, สารสกัดหล่อฮั่งก้วย เป็นต้น
2.2 มาจากการสังเคราะห์ เช่น แซคาริน (ขัณฑสกร) มีความหวาน 300-500 เท่าของน้ำตาล, ซัยคลาเมต มีความหวานเป็น 30 เท่าของน้ำตาล, ซูคราโรส มีความหวานเป็น 600 เท่าของน้ำตาล เป็นต้น
มี 5 ชนิด ที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริการับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยและกระทรวงสาธารณสุขไทยก็อนุญาตให้ไช้ได้ คือ แอสพาร์แทม, แซคคาริน, อะซิซัลเฟม โพแทสเซียม, ซูคราโลส และนีโอแทม
เนื่องจากสารกลุ่มนี้เป็นสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน จึงสามารถใช้ทดแทนน้ำตาลเพื่อควบคุมพลังงานที่จะ ได้รับโดยไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงใช้ได้ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยโรคอ้วน และ/หรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่การใช้สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ควรใช้ในปริมาณไม่เกินค่า Acceptable Daily Intake Levels (ADI) หรือปริมาณสูงสุดต่อวันที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยโดยไม่เกิดอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย โดยค่า ADI ของ แอสพาร์แทม, แซคคาริน, อะซิซัลเฟม โพแทสเซียม, ซูคราโลส และนีโอแทม เท่ากับ 40-50, 5, 15, 15 และ 2 มก./กก./วัน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลควรใช้ให้เหมาะสม การปฏิบัติตนตาม 3 อ. คือ บริโภคอาหารให้ครบ 3 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังสม่ำเสมอ และควบคุมอารมณ์เพื่อรักษาสุขภาพจิตให้แจ่มใส ก็จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลโรคภัยได้
อ้างอิง
- กนกกาญจน์ ปานจันทร์. 2559. สารให้ความหวานแทนน้ำตาล. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. [https://theguardian.com/society/2016/mar/23/fruit-juices-smoothies-contain-unacceptably-high-level-sugar]
- Wannakon Chuemongkon. 2008. สารให้ความหวาน การใช้และความปลอดภัย. Thai Pharm Health Sci. J 2008:3(1):161-186.
- ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคด, ทรงศกัดิ์ศรอีนุชาต. 2562. สารให้ความหวานแทนน ้าตาล เพื่อสุขภาพและการควบคุมน้ำหนัก. Thai Journal of Science and Technology.ปีที่ 8 • ฉบับที่ 1 • มกราคม - กุมภาพันธ์2562